thai export professional

วันจันทร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2553

ขั้นตอนการส่งออก



Bookmark and Share



ขั้นตอนการส่งออก
ธุรกิจการส่งออก นับว่าเป็นธุรกิจอีกแขนงหนึ่งที่มีความสำคัญต่อผู้ประกอบการเองและประเทศชาติ เนื่องจากเป็นธุรกิจที่สามารถนำเงินตราต่างประเทศเข้ามาสู่ประเทศไทยเราเป็นจำนวนมากในปีหนึ่งๆ และรายได้เหล่านี้ ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ถูกนำมาใช้พัฒนาและแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น
ดังนั้น เพื่อให้ธุรกิจการส่งสินค้าออกของไทยประสบความสำเร็จ และมีมูลค่าการส่งออกเพิ่มมากขึ้น ผู้ประกอบการที่จะเข้ามาในธุรกิจนี้ จึงจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้ขั้นตอนและกระบวนการปฏิบัติต่างๆ ในการส่งออกสินค้าให้ดีเสียก่อน
เนื่องจากขั้นตอนการส่งออกสินค้า เป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ประกอบธุรกิจส่งออก จะต้องทำความเข้าใจและศึกษาข้อปฏิบัติให้ถูกต้อง เพื่อให้การประกอบธุรกิจส่งออก เป็นไปอย่างสะดวกและได้รับผลสำเร็จคุ้มค่ากับความตั้งใจการลงทุน
ขั้นตอนการส่งออกประกอบด้วย
1. การจดทะเบียนพาณิชย์
2. การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และการขอมีเลขและบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากร
3. เสนอขายและรับการสั่งซื้อ
4. การเตรียมสินค้า
5. ติดต่อขนส่ง
6. จัดเตรียมเอกสารเพื่อการส่งออก
7. ติดต่อผ่านพิธีการศุลกากร
• พิธีการตรวจเอกสาร
• พิธีการตรวจสินค้า
8. การส่งมอบสินค้า
9. การเรียกเก็บเงินค่าสินค้า
10. ขอรับสิทธิประโยชน์
เมื่อท่านตั้งใจจะดำเนินธุรกิจการค้าแล้ว ไม่ว่าจะเป็นภายในประเทศหรือส่งออกสู่ต่างประเทศ จะต้องสร้างความมั่นใจแก่คู่ค้าของท่าน โดยแสดงวัตถุประสงค์

ชัดเจนว่าท่านจะทำการค้าสินค้าลักษณะใด โดยทำการจดทะเบียนธุรกิจ ซึ่งมีการจดได้หลายลักษณะ ได้แก่
1. กิจการร้านค้าเจ้าของคนเดียว ห้างหุ้นส่วนสามัญ
2. นิติบุคคล แบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ
2.1 บริษัทจำกัด
2.2 ห้างหุ้นส่วน แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
2.2.1 ห้างหุ้นส่วนจำกัด
2.2.2 ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล
สำหรับสถานที่จดทะเบียน คือ
1. กรุงเทพมหานคร
1.1 สำนักงานบริการจดทะเบียนธุรกิจ 1 (มหาราช)
โทร. 0-2622-0569 ถึง 70
1.2 สำนักงานบริการจดทะเบียนธุรกิจ 2 (ถ.พระราม 6)
โทร. 0-2618-3340 ถึง 41 และ 45
1.3 สำนักงานบริการจดทะเบียนธุรกิจ 3 (รัชดาภิเษก)
โทร. 0-2276-7266
1.4 สำนักงานบริการจดทะเบียนธุรกิจ 4 (สีลม)
โทร. 0-2630-4696 ถึง 97
1.5 สำนักงานบริการจดทะเบียนธุรกิจ 5 (รัชดาภิเษก)
โทร. 0-2276-7255-6
1.6 สำนักงานบริการจดทะเบียนธุรกิจ 6 (ศรีนครินทร์)
โทร. 0-2722-8366, 68 และ 77
1.7 สำนักงานบริการจดทะเบียนธุรกิจ 7 (รัชดาภิเษก)
โทร. 0-2276-7251 และ 53
1.8 ส่วนจดทะเบียนธุรกิจกลาง (อาคารกรมพัฒนาธุรกิจ จ.นนทบุรี)
โทร. 0-2547-4423 ถึง 24
2. ต่างจังหวัด ที่สำนักงานทะเบียนการค้าจังหวัด 75 จังหวัด
นอกจากนี้ สามารถจดทะเบียนธุรกิจทาง Internet ได้ที่
www.thairegistration.com

เมื่อจดทะเบียนธุรกิจแล้ว ก็ต้องติดต่อกรมสรรพากรเพื่อขอมีเลข และบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากร หากมีรายรับจากการขายสินค้า หรือให้บริการเกินกว่า 1.2 ล้านบาทต่อปี ต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่มีผู้ประกอบการบางประเภท ที่ไม่ต้องจดทะเบียน หรือได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่ามูลค่าเพิ่ม เช่น การส่งออกของผู้ประกอบการในเขตอุตสาหกรรมส่งออกตามกฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย จะได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย แต่ก็สามารถขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้ เป็นต้น
การดำเนินการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม สามารถติดต่อขอรายละเอียดและจดทะเบียนได้ที่
กรุงเทพฯ - สำนักงานสรรพากรเขต สำนักงานสรรพากรเขต (สาขา) หรือ สำนักงานสรรพากรที่สถานประกอบการตั้งอยู่
- สำนักงานภาษีสรรพากรพื้นที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่
ต่างจังหวัด - สำนักงานสรรพากรอำเภอ สำนักงานสรรพากรอำเภอ (สาขา)
หรือ สำนักงานสรรพากรกิ่งอำเภอที่สถานประกอบการตั้งอยู่
อันดับแรกของการประกอบธุรกิจส่งออก ผู้ประกอบการต้องเข้าใจถึงลักษณะการส่งออกของประเทศไทยก่อน ซึ่งประเทศเราเป็นประเทศกำลังพัฒนาและมีเสรีทางการค้า ฉะนั้น ในสินค้าบางตัวก็เป็นสินค้าที่มีความสำคัญและอาจส่งผลด้านเศรษฐกิจแก่ประชาชน ดังนั้น ผู้ที่จะประกอบธุรกิจส่งออก จึงจำเป็นต้องศึกษากฎเกณฑ์ และระเบียบอันเกี่ยวข้องกับการส่งออก โดยเฉพาะกฎหมายเกี่ยวกับศุลกากร กฎหมายพิกัดอัตราอากรขาเข้าขาออกของสินค้าที่ได้รับการยกเว้นอากร กฎหมายควบคุมสินค้าขาออก ทั้งนี้ เพื่อให้มีความเข้าใจอย่างถูกต้องตรงกัน
ดังนั้น รัฐบาลจึงได้กำหนดการส่งออกสินค้าตามกลุ่มของสินค้าเป็น 3 กลุ่ม คือ
1. สินค้ามาตรฐาน
2. สินค้าควบคุม หรือสินค้าที่มีมาตรการจัดระเบียบการส่งออก
3. สินค้าเสรี (ทั่วไป)
1. สินค้ามาตรการ ที่กำหนดมี 12 ชนิด ได้แก่ ปอฟอก ข้าวโพด เมล็ดละหุ่ง ปุยนุ่น ไม้สักแปรรูป ข้าวฟ่าง ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ถั่วเขียว ปลาป่น ถั่วเขียวผิวดำ แป้งมันสำปะหลัง ข้าวหอมมะลิไทย
การส่งออกสินค้าในกลุ่มนี้ ผู้ส่งออกจะต้องจดทะเบียนเป็นผู้ทำการค้าขาออก ซึ่งสินค้ามาตรฐานและต้องได้รับใบรับรองมาตรฐานสินค้าจาก
- สำนักงานมาตรฐานสินค้า
- สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
เพื่อนำไปแสดงต่อกรมศุลกากร จึงจะได้รับการตรวจปล่อยสินค้าออกไปได้ ในเรื่องนี้สามารถติดต่อขอรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่
- กองตรวจสอบและมาตรฐานสินค้า
กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
โทร. 02-5474746
2. สินค้าควบคุม เป็นสินค้าที่มีมาตรการจัดระเบียบการส่งออก เป็นสินค้า ที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคง ความสงบและความเรียบร้อยภายในประเทศ ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ และสังคมของประเทศ สินค้าประเภทนี้ ได้แก่
สินค้าเกษครกรรม
- ข้าวเปลือก ข้าวกล้อง ข้าวสาร ข้าวเหนียว - สัตว์ป่า (นก) 20 ชนิด
- ข้าวภายใต้โควต้าภาษีของสหภาพยุโรป - สัตว์ป่า (29 ชนิด)
- เมล็ดปอ - สัตว์ป่า (22 ชนิด)
- ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง - สัตว์ป่า (29 ชนิด)
- สินค้ากาแฟ - ซากสัตว์ป่า (38 ชนิด)
- ผลิตภัณฑ์กาแฟ - ซากสัตว์ป่า (29 ชนิด)
- กากถั่ว - ซากสัตว์ป่า (29 ชนิด)
- ไม้และไม้แปรรูป - ซากสัตว์ป่า (195 ชนิด)
- ไม้ยางพารา - ซากเต่า
- หวาย - ปะการัง
- ถ่านไม้ - เต่าจักร
- ช้าง ม้า ลา ล่อ - กุ้งกุลาดำมีชีวิต
- โค กระบือ - ปลาทะเลสวยงามที่มีชีวิต
- กระแต - สัตว์น้ำใกล้สูญพันธ์
- สัตว์ป่า (177 ชนิด) - หอยมุกและผลิตภัณฑ์
สินค้าอุตสาหกรรม
- น้ำตาล - พระพุทธรูป
- ถ่านหิน - น้ำมันเชื้อเพลิงและผลิตภัณฑ์
- ปุ๋ย ของน้ำมันเชื้อเพลิง
- ทองคำ - แร่ที่มีทรายเป็นส่วนประกอบ
- เทวรูป - สินค้ารี-เอก็กซ์ปอร์ต
การส่งออกสินค้าเหล่านี้ จะต้องปฏิบัติตามขั้นตอนที่กำหนดกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเสียก่อน จึงจะทำการส่งออกได้
- จดทะเบียนเป็นผู้ส่งออก ได้แก่ กาแฟ ข้าว ทุเรียน ปลาทูนาบรรจุภาชนะอัดลม กุ้ง ปลาหมึกแช่เย็นแช่แข็ง และผลิตภัณฑ์ ลำไยสด สิ่งทอ ดอกกล้วยไม้ ผลิตภัณฑ์- มันสำปะหลัง
- ขอใบอนุญาตส่งออก ได้แก่ กากถั่วเหลือง (ในหลักการไม่อนุญาตให้ส่งออก) กาแฟ กุ้งกุลาดำ ข้าว ช้าง ซากเต่าบางชนิด ซากสัตว์บางชนิด สินค้า RE-EXPORT ถ่านไม้ ถ่านหิน ทองคำ น้ำมันเชื้อเพลิง ปุ๋ย ผลิตภัณฑ์หอยมุก พระพุทธรูป ไม้และไม้แปรรูป (เฉพาะไม้ยางพารา ไม้สน และไม้ยูคาลิปตัส) แร่ที่มีทราย สัตว์ป่าบางชนิด หอยมุก ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง
- ขอรับการจัดสรรปริมาณ (โควตา) การส่งออก ได้แก่ ข้าว สิ่งทอ
- ห้ามส่งออก/ในหลักการไม่อนุญาตให้ส่งออก ได้แก่ กระแต กากถั่ว เต่าจักร ทราย ปลาทะเลสวยงาม ปะการัง ม้า ลา ล่อ เมล็ดปอ สัตว์น้ำ 258 ชนิด สินค้าปลอม สินค้าลิขสิทธิ์ หวาย การส่งออกไปยัง 3 ประเทศที่กล่าวข้างต้น
ผู้ประกอบการสามารถสอบถาม/ค้นหารายละเอียดได้จาก
กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
โทร. 0-2547-4771 ถึง 86
Web Site : www.dft.moc.go.th/export_index.html
Web Site ของกรมส่งเสริมการส่งออก : www.depthai.go.th/export/index.html
1. สินค้าเสรี (ทั่วไป) ไม่มีกฎเกณฑ์ใดเป็นข้อห้าม จึงส่งออกได้ตามปกติ สินค้ากลุ่มนี้มีมากมาย ผู้ส่งออกสามารถเลือกทำการค้าได้โดยเสรี
เมื่อทราบประเภทของกลุ่มสินค้า และรู้แล้วว่าเป็นสินค้าประเภทใด ก็มาถึงขั้นต่อไปในการขายสินค้าส่งออก คือ การหาลูกค้าซึ่งก็มีหลายวิธี เช่น ลงโฆษณาในสื่อต่างๆ ในประเทศของผู้ซื้อ หรือสื่อทางการค้าของหน่วยงานด้านการค้าของไทย ได้แก่ Export Directory ซึ่งจะจัดพิมพ์รายชื่อผู้ผลิต-ส่งออกสินค้าแยกเป็นชนิดสินค้าการส่ง Direct Mail ไปยังผู้นำเข้าในประเทศเป้าหมาย การเข้าร่วมงานแสดงสินค้าในต่างประเทศ เป็นต้น
เมื่อผู้ซื้อในต่างประเทศได้รู้จักสินค้าและให้ความสนใจก็จะมีการสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ในเรื่องราคา ปริมาณ หรือเงื่อนไขอื่นๆ
ผู้ขายสินค้าก็จะต้องยื่นข้อเสนอราคาที่เหมาะสมและกำหนดเวลาในการจัดส่ง หรือรายละเอียดอื่นตามที่ผู้ซื้อต้องการทราบ หากผู้ซื้อพอใจในสินค้าและราคาแล้ว จึงจะเกิดการสั่งซื้อ ด้วยการออกคำสั่งซื้อสินค้า (Purchase Order) มายังผู้ขาย เพื่อให้ผู้ขายออกเอกสาร Pro-forma Invoice
เมื่อผู้ขายจัดส่ง Pro-forma Invoice ไปให้แล้ว ผู้ซื้อก็จะนำไปใช้เป็นหลักฐานในการเปิด Letter of Credit (L/C) ต่อธนาคารของผู้ซื้อ และเมื่อธนาคารของผู้ซื้อรับการสั่งซื้อแล้วก็ทำการจัดส่ง Letter of Credit (L/C) มายังธนาคารในประเทศของผู้ขาย
หลังจากนั้นธนาคารในประเทศผู้ขายก็จะแจ้งมายังผู้ขายว่าลูกค้าในต่างประเทศได้เปิด L/C มาแล้ว โดยให้ผู้ขายติดต่อกลับ เพื่อนำหลักฐานตามที่ตกลงใน L/C ไปเตรียมการจัดส่งสินค้าตามข้อตกลงที่ผู้ซื้อกำหนดมาใน L/C หากมีข้อความใน L/C ไม่ชัดเจน ควรปรึกษากับธนาคารผู้รับใบสั่งซื้อ L/C ให้ชัดเจนเสียก่อนที่จะนำไปดำเนินการในขั้นตอนต่อไป
ในกรณีที่ผู้ขายเป็นผู้ผลิตสินค้าเอง ต้องเตรียมการผลิตสินค้าให้พร้อมเสร็จสิ้นก่อนกำหนดส่งสินค้า หากผู้ขายไม่ได้ผลิตเอง ก็จะต้องทำสัญญากับผู้ผลิตให้กำหนดการส่งมอบสินค้า ตามเวลาที่กำหนดก่อนการจัดส่งให้ผู้ซื้อ จากนั้นทำการทดสอบคุณภาพสินค้าให้เป็นไปตามข้อตกลงที่ได้ให้กับผู้ซื้อไว้
และตรวจสอบกำหนดการในการขนส่งสินค้าว่า ตารางการเดินเรือ หรือเที่ยวบินในช่วงที่ต้องการส่งสินค้ามีตามต้องการหรือไม่ ควรจองระวางบรรทุกสินค้าไว้ล่วงหน้า เพื่อความสะดวกแก่ผู้ทำการขนส่ง ซึ่งจะได้จัดเตรียมระวางบรรทุกในเที่ยว ที่ต้องการได้ถูกต้องครบถ้วน
ต่อมาก็จัดทำใบกำกับสินค้า หรือ บัญชีราคาสินค้า (Invoice) เพราะต้องนำไปใช้ทั้งก่อนการส่งออก และหลังการส่งออก เช่น ขออนุญาตสินค้าที่ควบคุมต้องปฏิบัติล่วงหน้าเพื่อความถูกต้อง การจัดทำใบรายการบรรจุหีบห่อ (Packing List) จะต้องจัดทำเมื่อทราบขนาดของหีบห่อที่ใช้บรรจุสินค้า หรืออาจจัดทำก่อนยื่นเอกสารผ่านพิธีการศุลกากร การขออนุญาตสินค้าควบคุม สินค้ามาตรฐานและการรับสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากร ซึ่งได้กล่าวแล้วข้างต้น
นอกจากนี้ อาจต้องขอหนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า (C/O หรือ Certificate of Origin) ตามข้อกำหนดของประเทศผู้ซื้อ หนังสือรับรองนี้ มี 2 แบบ
แบบที่ 1 เป็นหนังสือรับรองแหล่งกำเนิดทั่วไปที่ออกให้กับประเทศผู้ซื้อ เพื่อยืนยันว่าสินค้านั้นผลิตขึ้นในประเทศที่ส่งออกจริง ผู้ออกให้มี
- กองสิทธิประโยชน์ทางการค้า กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
- สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
- สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
แบบที่ 2 เป็นหนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้าที่ออกให้กับประเทศผู้ซื้อตามข้อตกลงว่าด้วยการใช้สิทธิพิเศษต่างๆ
- สิทธิพิเศษทางด้านภาษีศุลกากร GSP เรียกว่า หนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า Form A
- สิทธิประโยชน์ทางการค้าภายใต้ AFTA/CEPT เรียกว่า หนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า FORM D
- สิทธิประโยชน์ทางการค้า GSTP เรียกว่า หนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า FORM GSTP
แบบที่ 2 นี้ จะออกโดย กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เท่านั้น
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่
กองสิทธิประโยชน์ทางการค้า
กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
โทร. 0-2547-4815, 18 และ 19
E-mail : tpdft@mocnet.moc.go.th
เอกสารประกอบอื่นๆ ตามความต้องการของผู้ซื้อ เช่น เอกสารประกันภัย และเอกสารรับรองต่างๆ ซึ่งผู้ส่งออกส่วนใหญ่ มักใช้บริการว่าจ้างผู้แทนออกของ (Shipping) ให้ดำเนินการ ดังนั้น จึงควรแจ้งให้เขาทราบว่าต้องการเอกสารประกอบชนิดใด เพื่อเขาจะได้ปฏิบัติตามความต้องการได้อย่างถูกต้อง
ทั้งนี้ สามารถจะหาข้อมูลได้จาก L/C ที่ได้รับมา ถ้ามีเงื่อนไข อย่าละเลย ที่จะระบุเงื่อนไขลงไปในเอกสารนั้นๆ ให้ครบ
เอกสารใดที่ผู้ซื้อระบุมา แต่ไม่สามารถหาหน่วยงานใดออกให้ได้ ก็ให้ทำการตกลงกับผู้ซื้อเสียแต่เนิ่นๆ ก่อนที่จะปฏิบัติการส่งมอบสินค้า
บัตรลายมือชื่อ บัตรลายมือชื่อมีไว้เพื่อประกอบการติดต่อกับกรมศุลกากรว่าด้วยการนำเข้าและส่งออกทุกเรื่อง เป็นบัตรลายมือชื่อเจ้าของ หรือผู้จัดการและผู้รับมอบอำนาจเพื่อประกอบการยื่นเอกสารในการผ่านพิธีการของกรมศุลกากร โดยยื่นคำร้องต่อฝ่ายทะเบียนผู้ส่งออกและนำเข้า สำนักเลขานุการ กรมศุลกากร หรือที่ด่านศุลกากรทั่วราชอาณาจักร
เมื่อเตรียมเอกสารประกอบการส่งออกครบแล้ว และถึงเวลาตามที่ได้สัญญากับผู้ซื้อไว้แล้ว สินค้าพร้อมแล้ว ก็ทำการผ่านพิธีศุลกากร เพื่อทำการตรวจสอบสินค้าว่าตรงกับใบกำกับสินค้า ใบรายการบรรจุหีบห่อ แหล่งกำเนิดสินค้า การชำระภาษีอากร การออกใบขนสินค้า การควบคุม การบรรจุสินค้าเข้าตู้ ขึ้นเรือ หรือขึ้นพาหนะที่ใช้ขนสินค้าส่งออก
จากนั้น นำสินค้าที่จะส่งออกส่งมอบแก่ผู้ทำการขนส่ง ซึ่งได้จองระวางไว้ล่วงหน้าแล้ว และรับใบตราส่งเมื่อส่งมอบสินค้าเรียบร้อย ใบตราส่งมี 5 ประเภทด้วยกันซึ่งขึ้นอยู่กับพาหนะที่ท่านใช้ขนส่ง เช่น
- ใบตราส่งทางเรือ Bill of Lading (B/L)
- ใบตราส่งทางอากาศ Airways Bill (AWB.)
- ใบตราส่งทางรถไฟ Railways Receipt
- ใบตราส่งทางรถบรรทุก Truck’s Receipt
- ใบตราส่งทางไปรษณีย์ Parcel’s Receipt
ผู้ส่งออกจะต้องตรวจสอบใบตราส่งให้ละเอียดตามเงื่อนไข อย่าให้ผิดพลาดจากข้อกำหนด ก่อนนำไปยื่นขอขึ้นรับเงินกับธนาคาร
เมื่อเสร็จสิ้นการตรวจปล่อยสินค้าแล้วก็ถึงขั้นตอนสำคัญ คือ การเรียกเก็บและชำระเงินค่าสินค้า
เอกสารที่ต้องส่งเรียกเก็บเงินจากผู้ซื้อนั้นกำหนดได้จากเอกสารที่สั่งซื้อเป็นสำคัญ เอกสารที่จำเป็น คือ
ตั๋วแลกเงิน (Bill of Exchange) เป็นตราสารที่ผู้รับประโยชน์ตาม L/C หรือผู้ขายสินค้า เป็นผู้ออกตั๋วเงินเพื่อสั่งให้ผู้ซื้อสินค้าจ่ายเงินตามตั๋วแลกเงินภายในเวลา ที่ตกลงไว้ในสัญญา
ข้อควรระวังในการส่งเอกสารให้แก่ผู้ซื้อเพื่อเป็นหลักฐานในการเตรียมตัวออกของ หรือติดตามสินค้า ต้องเป็นเอกสารที่ประทับตรา Copy Not Negotiate เพื่อ ผู้ซื้อจะได้นำไปออกของไม่ได้จนกว่าการชำระเงินตามตั๋วแลกเงินจะสมบูรณ์ ธนาคาร ผู้เป็นตัวแทนจึงจะออกเอกสารในการออกของให้แก่ผู้ซื้อ นำไปออกของเพื่อจำหน่ายต่อไปได้
และเพื่อเป็นการส่งเสริมการส่งออกอีกทางหนึ่ง กรมศุลกากรได้จัดให้มีสิทธิประโยชน์ทางภาษีเพื่อส่งเสริมการส่งออก โดยดำเนินการมาตรการหลักๆ ดังนี้
1. การคืนอากรวัตถุดิบที่นำเข้ามาผลิตเพื่อส่งออกตามมาตรา 19 ทวิ
2. การงดเว้นการเก็บอากรสำหรับของที่นำเข้าในคลังสินค้าทัณฑ์บน
3. การชดเชยค่าภาษีอากร
4. การยกเว้น ภาษีนำเข้าสำหรับเขตอุตสาหกรรมส่งออก
ซึ่งท่านสามารถติดต่อขอรับสิทธิประโยชน์ดังกล่าว ได้ที่
กรมศุลกากร
ถนนสุนทรโกษา คลองเตย
กรุงเทพฯ 10110
โทร. 0-2249-0431 ถึง 40
และสามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่
Web Site : www.customs.go.th
จะเห็นได้ว่าธุรกิจการส่งออกสินค้าสู่ผู้ค้าในต่างประเทศนั้น ไม่ใช่เรื่องยาก จนเกินความสามารถ เพียงแต่ให้ความสนใจในขั้นตอนการปฏิบัติที่สำคัญต่างๆ อย่างจริงจัง มีหูตากว้างไกล มีความจริงใจกับคู่ค้า ธุรกิจการส่งออกก็จะเป็นทางเลือกที่ดีแก่การทำธุรกิจได้ แต่ในการทำธุรกิจต่างๆ ก็ใช่ว่าจะประสบความสำเร็จในระยะเวลาอันสั้นได้ ฉะนั้น เมื่อท่านมีปัญหา หรือขัดข้องสิ่งใดในการประกอบธุรกิจส่งออก กรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ ยินดีเป็นที่ปรึกษาและร่วมเดินไปในตลาดโลกด้วยเสมอ
กรมส่งเสริมการส่งออก
22/77 ถนนรัชดาภิเษก จตุจักร กรุงเทพฯ 10900
โทร. 0-2511-5066-77 ต่อ 286-288
สายด่วนผู้ส่งออก โทร. 1169
0-2512-5151
0-2511-5502
Web Site: www.depthai.go.th
www.thaitrade.com

หมายเหตุ : ปรับปรุงจากบทวีดิทัศน์ เรื่อง “ขั้นตอนการส่งออก
จัดทำโดย ส่วนเทคโนโลยีฝึกอบรม
สถาบันฝึกอบรมการค้าระหว่างประเทศ
กรมส่งเสริมการส่งออก
เพิ่มเว็บ สารบัญเว็บไทย โปรโมทเว็บไซต์

วันอาทิตย์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2553

เอกสารเพื่อการส่งออก


Bookmark and Share



เอกสารเพื่อการส่งออก (EXPORT DOCUMENT) สำหรับการขนส่งทางทะเล

วัตถุประสงค์ใหญ่ของเอกสารเพื่อการส่งออก เพียงจัดให้มีรายละเอียดที่สมบูรณ์ของสินค้าเพื่อการผ่านขั้นตอนศุลกากรได้ถูกต้องรวดเร็ว นอกจากนั้นเอกสารยังทำหน้าที่ในการขนส่ง การชำระเงินและพิธีการทางเครดิต การประกันภัย และการเรียกร้องค่าเสียหายของสินค้าอีกด้วย
ในครั้งนี้จะแนะนำถึงเอกสารซึ่งใช้กับการขนส่งทางทะเล ที่ผู้ส่งออกควรทราบตามลำดับดังนี้
1. BILL OF EXCHANGE (ตั๋วและเงินหรือดราฟท์)
เป็นตราสารที่ผู้รับประโยชน์ (ผู้ส่งออก) เป็นผู้ส่งขายตั๋วแลกเงินคือตราสารที่เปลี่ยนมือได้ชนิดหนึ่ง มีคำสั่งเป็นลายลักษณ์อักษรโดยปราศจากเงื่อนไข ออกโดยบุคคลหนึ่งเรียกว่าผู้สั่งจ่าย (DRAWEE) จ่ายเงินให้บุคคลที่สามเมื่อครบกำหนดเวลาเป็นจำนวนเงินที่แน่นอน หรือจ่ายตามคำสั่งของบุคคลที่สามนั้น
2. EXPORT LICENCE (ใบอนุญาตส่งออก)
ตามปกติแล้วสินค้าที่ต้องขอใบอนุญาตส่งออกมักจะเป็นสินค้าจำพวกวัตถุดิบเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ที่มีการขาดแคลน สินค้าที่ใช้ทางการทหาร หรือในบางครั้งการกำหนดให้มีการขอใบอนุญาตส่งออกถ้าเป็นผลมาจากนโยบายการเมืองระหว่างประเทศ เช่น การลงโทษทางเศรษฐกิจต่อประเทศใดประเทศหนึ่งเป็นต้น
3. CERTIFICATE OF ORIGIN (C/O) (ใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า)
วัตถุประสงค์หลักของเอกสารนี้คือ การเรียกร้องสิทธิพิเศษทางภาษีสินค้าในประเทศที่นำเข้าหมายถึงการส่งออกสินค้าจากประเทศกำลังพัฒนา รวมทั้งประเทศไทย ไปยังประเทศที่ให้สิทธิพิเศษทางศุลกากรหรือเรียกว่า จี.เอส.พี (GSP) นั้น เอกสารนี้ จะเป็นเครื่องแสดงถึงแหล่งกำเนิดสินค้าของประเทศผู้ส่งออกเพื่อให้ประเทศนำเข้ายอมรับและให้สิทธิพิเศษดังกล่าว นอกจากนี้ใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้านี้จะใช้สำหรับการพิสูจน์ด้วยว่าสินค้านั้นไม่ขัดต่อกฎเกณฑ์การนำเข้าของประเทศนั้น ๆ ด้วย
ฉะนั้นการออกใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า หรือ c/o จะสามารถกระทำได้ 2 ลักษณะคือ
- การรับรองเพื่อใช้สิทธิพิเศษทาง ศุลกากรจะต้องรับรองโดยส่วนราชการผู้รับผิดชอบในเอกสารนี้ คือ กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
- การรับรองเพื่อการค้าขายทั่วไปหรือเมื่อลูกค้าต้องการ สามารถออกใบรับรองได้โดยสภาหอการค้าเพื่อรับรองต้นกำเนิดของสินค้านั้น
4. CERTIFICATE OF VALUE (ใบรับรองมูลค่าสินค้า)
บางครั้งมูลค่าสินค้าที่แสดงในใบกำกับสินค้า (INVOICE) อาจต้องได้รับการยืนยันโดยใบรับรองมูลค่าสินค้า ซึ่งต้องมีลายเซ็นของผู้ส่งออกกำกับอยู่ด้วย โดยระบุความจริงทางราคาอย่างชัดเจน หรือไม่ทำให้เข้าใจเป็นอย่างอื่น ระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขายได้เลยในเรื่องราคาซื้อซึ่งการระบุเช่นนี้จะปรากฎใน Consular Invoice เช่นเดียวกัน
5. CERTIFICATE OF WEIGHT (ใบรับรองน้ำหนักของสินค้า)
เป็นเอกสารแสดงน้ำหนักของสินค้าทั้งจำนวน อาจจะออกโดยบริษัทหรือ สำนักงานตรวจสอบมาตรฐานสินค้าหรือส่วนราชการ ใบรับรองนี้อาจระบุโดยผู้ส่งออกได้ เว้นแต่เลตเตอร์ออฟเครดิตจะระบุเป็นอย่างอื่น
ใบรับรองแสดงน้ำหนักของสินค้า ต้องรับรองน้ำหนักของสินค้าตามที่ระบุในใบกำกับสินค้าและจะต้องไม่ขัดกับเอกสารอื่น ๆ ตามที่เลตเตอร์ออฟเครดิตระบุไว้
6. CERTIFICATE OF INSPECTION ( ใบรับรองการตรวจสอบ )
ผู้ซื้อบางรายต้องการใบรับรองการตรวจสอบ เพื่อแน่ใจว่าสินค้าที่สั่งซื้อนั้นเป็นไปตามมาตราฐานผู้ส่งออกต้องจัดการเรื่องเหล่นี้ให้ลูกค้าของตนเอง
7. CERTIFICATE OF HEALTH หนังสือรับรองคุณภาพและอนามัย
การส่งออกสินค้าประเภทอาหารและผลิตผลทางการเกษตร ประเทศผู้ซื้อสินค้าส่วนใหญ่จะมีข้อกำหนดที่เข้มงวดเกี่ยวกับสิ่งปนเปื้อนทั้งทางเคมีและทางจุลชีวะตลอดจนซากสัตว์สิ่งสกปรกและสารพิษต่าง ๆ ทั้งนี้จะมีการตรวจวิเคราะห์อยู่เป็นประจำ สินค้าซึ่งมีการปริมาณสิ่งเจือปนดังกล่าวสูงกว่ากำหนดอาจถูกกันหรือห้ามเข้า ดังนั้น การส่งออกสินค้าอาหารและผลิตภัณฑ์ทางเกษตรจึงต้องมีหนังสือคุณภาพและอนามัยแสดงให้ทราบถึงความปลอดภัยในการบริโภคไปด้วย จึงจะอนุญาตให้นำเข้า
การส่งออกสินค้าของไทยที่ต้องมีใบรับรองคุณภาพ จึงมีหน่วยงานของรัฐที่ให้บริการตรวจสอบคุณภาพหลายหน่วยงานด้วยกัน อาทิ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข เป็นหน่วยงานที่การตรวจสอบคุณภาพและออกหนังสือรับรองให้แก่ผู้ส่งออกมานานและเป็นที่รู้จักทั่วไป การขอรับรองหนังสือรับรองประเภทต่าง ๆ ต้องยื่นคำร้องแจ้งความจำนงขอรับหนังสือรับรองคุณภาพอาหารเพื่อส่งไปยังประเทศผู้ซื้อใดพร้อมส่งตัวอย่างสินค้าที่ผลิตเพื่อวิเคราะห์ด้วย เจ้าหน้าที่จะพิจารณาตามมาตราฐานของประเทศที่ส่งไปก่อนที่จะออกหนังสือรับรองให้เช่นตัวอย่างต่อไปนี้
- ใบรับรองคุณภาพมาตราอาหาร : Analysis and Health Certificate
- ใบรับรองปริมาณสารปรอท : Mercury Certificate
- ใบรับรองอาหารสดแช่แข็งส่งไปยังประเทศฝรั่งเศส : Health Certificate Model I
- ใบรับรองอาหารกระป๋องส่งออกไปยังประเทศฝรั่งเศส : Health Certificate Mode II
- ใบรับรองคุณภาพอาหารแห้ง และ อื่น ๆ : Health Certificate Mode II
กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นอีกหน่วยงานหนึ่งของทางราชการที่สามารถให้การรับรองคุณภาพอาหารและผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร มีวัตถุประสงค์ให้บริการวิเคราะห์ตรวจสอบและออกใบรับรองคุณภาพอาหารและผลิตเกษตร , เพื่อการส่งออกให้ได้มาตราฐานและคุณภาพตรงตามมาตราฐานของนานาประเทศ และเพื่อลดปัญหาการเกษตรของไทยอีกด้วย ผู้ผลิต หรือ ผู้ส่งออก สินค้าในกลุ่มอาหารและผลิตภัณฑ์ควรศึกษาข้อมูลได้ที่ กองเกษตรเคมี กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตัวอย่างเอกสาร “หนังสือรับรองคุณภาพอาหาร” ที่ออกให้หน่วยงานที่กล่าวมานี้
- ใบรับรองการตรวจสอบอาหารปนเปื้อน : SANITARY CERTIFICATE
- ใบรับรองผลการวิเคราะห์ทางเคมี : MYCOTOXIN CERTIFICATE
- ใบรับรองการวิเคราะห์ปริมาณสารพิษ : ANALYSIS CERTIFICATE
- ใบรับรองการตรวจปริมาณโลหะหนักฯ : HEAVY CERTIFICATE
ในปัจจุบันประเทศไทยมีหน่วยงานที่เกี่ยวกับการออกใบรับรองคุณภาพของสินค้าอยู่หลายหน่วยงานด้วยกัน ควรจะพิจารณาความเหมาะสมล่วงหน้าจะเป็นวิธีที่ดีที่สุด สำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีดังนี้
- กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
- กองเกษตรเคมี กรมวิชาการเกษตร กระทรวงการเกษตรและสหกรณ์
- กรมวิทยาศาสตร์การบริการ กระทรวงอุตสาหกรรม
- มหาวิทยาลัยมหิดล
- คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- สถาบันค้นคว้าและวิจัยผลิตภัณฑ์อาหาร ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- สภาวิจัยฯ
8. OCEAN BILL OF LADING ( B/L ) ( ใบตราส่งสินค้าทางทะเล )
เป็นเอกสารสำคัญที่สุด เมื่อมีการส่งสินค้าทางทะเล Bill of Lading เป็นใบรับรอง มอบสินค้าของบริษัทเรือที่ทำการส่งออก (ซึ่งจะอธิบายรายละเอียดต่อไป )
ใบตราส่งสินค้าทางทะเล เป็นเอกสารแสดงสิทธิในสินค้า และเป็นหลักฐานสัญญาของบริษัทเรือที่จะขนส่งสินค้าทางเรือ ของประเทศส่งออกไปยังท่าเรือปลายทาง ใบตราส่งสินค้ามีหลายชนิดดังนี้ คือ
9. CLEAN B/L คือใบตราส่งสินค้าที่บริษัทเรือไม่ได้บันทึกแจ้งข้อบกพร่องของสินสินค้า / หรือ การบรรจุหีบห่อ
10. NON-NEGOTIABLE OR STRAIGHT B/L
เป็นใบตราส่งสินค้าที่ยินยอมให้มีการส่งมอบให้แก้ผู้รับสินค้า (CONSIGNER )ที่ระบุไว้เท่านั้น จะโอนให้ผู้อื่นมารับไม่ได้
11. ORDER B/L
ใบตราส่งสินค้าที่ออก โดยมีการส่งมอบสินค้าตามคำสั่ง ( ORDER ) ปกติตามคำสั่งของผู้ส่งสินค้าหรืออาจเป็นลอย ๆ ซึ่งต้องมีการสลักหลังโดยผู้ส่งสินค้าเพื่อเป็นการโอนสิทธิ์ในสินค้าให้กับผู้ทรง ( HOLDER ) หรือผู้ที่ได้รับการโอนสิทธิ์ให้ โดยเจาะจงการสลักหลังใบตราส่งสินค้ามาถึงแล้วเท่านั้น
12. ORDER “ NOTIFY” B/L
เหมือนกับใบตราส่งสินค้าชนิด “ ORDER” เพียงแต่เพิ่มข้อความในใบตราส่งสินค้า ว่าเมื่อสินค้าถึงเมืองท่าปลายทางแล้ว ตัวแทนบริษัทเรือที่มีเมืองท่าปลายทาง จะแจ้งให้กับผู้รับสินค้าทราบการแจ้งนี้ไม่ถือเป็นการโอนกรรมสิทธิ์ ในสินค้านั้นให้กับผู้รับแจ้ง เพียงเป็นเรื่องแจ้งให้ทราบว่าสินค้ามาถึงแล้วเท่านั้น
เป็นตราสารแสดงสิทธิ์ของผู้ทรงและเปลี่ยนมือได้ (NEGOTIABLE INSTRUMANT) คือเป็นเอกสารแสดงสิทธิในสินค้าและโอนสิทธิต่อ ๆ กันได้ BILL OF LADING นี้ยังแบ่งออกเป็น
13. “ THROUGH” BILL OF LANDING เป็นใบตราส่งออกในกรณีที่การขนส่งทั้งทางบกและทางทะเล ซึ่งระบุการขนส่งไว้ตลอดทาง ปกติผู้รับขนส่งคนแรกจะเป็นผู้ออกใบตราส่งชนิดนี้
14. “RECEIVED FOR SHIPMENT” BILL OF LANDING เป็นใบตราส่งสินค้าชนิดที่มีลักษณะเป็นเพียงสัญญาแสดงว่าได้รับการสินค้าไว้เพื่อจะทำการขนส่ง แต่ยังไม่เป็นที่แน่นอนว่าสินค้าได้ขึ้นเรือลำที่ระบุไว้เป็นการเรียบร้อยแล้ว
15. “SHIPPED ON BOARD ” BILL OF LADING เป็นใบตราส่งซึ่งแสนดงว่าสินค้าได้ขึ้นเรือระวางเรือเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
16. “CHARTER PARTY ” BILL OF LADING เป็นใบตราส่งที่ผู้รับขนได้เช่าเรือของผู้อื่นมารับทำการขนส่งสินค้าซึ่งระบุเงื่อนไขให้สัญญาขนส่งติดแยกจากใบตราส่งชนิดอื่น
17. THE COMMERCIAL INVOICE ( ใบกำกับสินค้าหรือบัญชีราคาสินค้า )
มีสาระสำคัญในใบกำกับสินค้า ควรตรวจสอบให้ถูกต้อง มีที่น่าสนใจอีกคือ
- สินค้าในใบกำกับสินค้า จะต้องไม่แสดงว่าเป็น “สินค้าที่ใช้แล้ว” ( USED ) “ สินค้าที่เปลี่ยนแปลงแก้ไขใหม่ ” ( REBUILT ) หรือ “ สินค้าที่เปลี่ยนมือ ” ( SECONDHAND) เว้นแต่เลตเตอร์ออฟเครดิตจะอนุญาตไว้โดยเฉพาะใบกำกับสินค้าจะต้องมีการประทับตรารับรองอย่างถูกต้องตามกฎหมายโดยสถานฑูต หรือ กงสุลที่เกี่ยวกับ ถ้าเลตเตอร์ออฟเครดิตระบุไว้ เครื่องหมายและตัวเลขบนหีบห่อ ( SHIPPED MARKS & NUMBERS ) ในใบกำกับสินค้าจะเหมือนกับใบตราส่ง ( BILL OF LADING ) และ / หรือ เหมือนกับเอกสารการส่งสินค้าอื่น ๆ และ / หรือ เหมือนกับเครื่องหมายหีบห่อ และตัวเลขที่กำหนดไว้ในเลตเตอร์ออฟเครดิต ใบกำกับสินค้า จะต้องไม่รวมค่าใช้จ่ายพิเศษอื่น ๆ เช่น ค่านายหน้า (COMMISSION )
ค่าเก็บรักษาสินค่า ( STORE CHARGES ) ค่าโทรเลข (CABLE CHARGES ) ค่าธรรมเนียม ในการส่งสินค้าล่าช้ากว่าที่กำหนด ( DEMURRAGE ) เป็นต้น เว้นแต่เลตเตอร์ออฟเครดิตที่จะกำหนด
- ถ้ายังไม่มีการยื่นใบกำกับสินค้าชนิดชั่วคราว ( PROVISIONAL INVOICE ) ธนาคารจะไม่รับใบกำกับสินค้าชนิดชั่วคราว ยกเว้นแต่เลตเตอร์ออฟเครดิตที่กำหนดไว้
- ถ้าเลตเตอร์ออฟเครดิตอนุญาตให้มีการส่งสินค้าเป็นบางส่วน ( PARTIAL SHIPMENTS ) มูลค่าของสินค้าในกำกับสินค้าจะต้องได้สัดส่วนกับจำนวนสินค้าที่แบ่งส่งนั้น
18. CUSTOMS INVOICE ( ใบกำกับสินค้าของศุลกากร )
ในทางประเทศจะกำหนดให้ใช้ใน CUSTOMS INVOICE โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศในเครือจักรภพอังกฤษ และ ประเทศในอัฟริกาบางประเทศ
ลักษณะของใบ CUSTOMER INVOICE คือ ใบกำกับสินค้า ( OFFCIAL INVOICE ) ที่จะต้องเตรียมเป็นฟอร์มพิเศษ ออกโดยผู้มีอำนาจทางศุลกากรระบุราคาสินค้าทางศุลกากรเพื่อสะดวกในการคำนวณภาษีปกติรายการสินค้า แต่ละชนิดจะแยกราคาสินค้าระหว่างเรือและค่าเบี้ยประกันออกจากกัน
ตัวอย่างประเทศที่ใช้ในใบกำกับสินค้าของศุลกากร หรือ CUSTOMER INVOICE นี้ ได้แก่แคนาดา,ฟิจิ, ชามัว, แซนเนีย , กานา ไนจีเรีย และ อิสราเอล
สำหรับ CANADA CUSTOMER INVOICE นั้นกรมศุลกากรแคนาดาได้มีการเปลี่ยนแปลงข้อกำหนดและแบบฟอร์มแบบใหม่โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ วันที่ 1 มกราคม 2528 เป็นต้นมา กรมศุลกากรแคนาดาไดแจ้งรายละเอียดในการกรอกแบบฟอร์มใหม่นี้สรุปสาระสำคัญดังนี้
- การส่งสินค้าไปยังแคนนาดา เพื่อการค้าทั้งหมดหากมีมูลค่าเท่ากัน หรือสูงกว่า 800 เหรียญแคนาดา ( เดิมกำหนด 500 เหรียญแคนนาดา ) แล้วจะต้องส่งเอกสาร CANADA CUSTOMER INVOICE ซึ่งระบุรายละเอียดตามแบบที่กรมศุลกากรกำหนดไว้
- CUSTOMER INVOICE ของแคนนาดาอาจจัดเตรียมได้ทั้งผู้ส่งออก หรือผู้นำเข้า หรือตัวแทนจำหน่าย
- รายละเอียดในใบ CUSTOMER INVOICE จะต้องระบุชื่อผุ้ซื้อและผู้ขายสินค้าแยกรายละเอียดของราคาสินค้าออกจากค่าขนส่งค่าบรรจุหีบห่อ เพื่อส่งออกให้ชัดเจน โดยปกติการใช้ CANADA CUSTOMER INVOICE
19. CONSULAR INVOICE (ใบกำกับสินค้าของกงสุล )
กฎเกณฑ์การนำเข้าของบางประเทศ กำหนดไว้จะต้องมีใบกำกับสินค้า ซึ่งรับรองโดยสถานฑูตของคนที่ตั้งอยู่ในประเทศของผู้ขาย เพื่อรับรองราคา ดังนั้น จึงขอให้สถานฑูตกงสุลเป็นผู้ออกใบกำกับราคา ซึ่งต้องเสียค่าธรรมเนียม ให้สถานกงสุลตามระเบียบนั้น สาระสำคัญที่ควรเป็นข้อสังเกตในแบบฟอร์มนี้ ได้แก่
- แบบฟอร์มใบกำกับราคาสินค้าสที่ออกดดยสถานกงสุลต้องได้รับการประทับตราทางราชการ และลงนาม โดยสถานกงสุลของประเทศที่นำเข้า เว้นแต่เลตเตอร์ออฟเครดิตจะอนุญาตให้ใบกำกับราคาสินค้านั้น ๆ ออกโดยสถานกงสุลของประเทศพันธมิตรอื่น ๆ
- จะต้องกรอกข้อความที่ต้องการลงในช่องว่างที่กำหนดให้สมบูรณ์ ในบางประเทศ จะคิดค่าปรับสำหรับการละเว้นการเติมข้อความในแบบฟอร์มนั้นด้วย
- ต้องไม่มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความใน CONSULAR FORMS ถ้าจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงจะต้องมีหนังสือของสถานกงสุลนั้นกำกับ หากไม่มีหนังสือกำกับ บางประเทศอาจคิดว่าปรับได้
ตัวอย่างประเทศที่ใช้ใบกำกับสินค้าของกงสุล เช่น ประเทศโบลิเวีย ซึ่งจะเรียกว่า OFFICIAL COMERCIAL INVOICE นอกจากนี้มี 4ประเทศที่ใช้และต้องแปลเป็นภาษาสเปน ได้แก่ สาธารณรัฐโดมินิกัน ฮอนดูรัส , ปารากวัย และ ปานามา (ซึ่งใช้ทั้งภาษาอังกฤษและสเปน ) โดยปกติจะใช้สำเนา 3-5 ฉบับ
20. F.T. 1 ( Foreign Transaction ) แบบธุรกิจต่างประเทศ ธ.ต. 1
ธ.ต. 1 คือแบบพิมพ์ของธนาคารแห่งประเทศไทย ตาม พรบ. ควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน พ.ศ. 2485 เป็นรายงานการส่งออก ๖ใช้สำหรับการส่งออกที่มีมูลค่าครั้งละเกินกว่า 500,000 บาท ) ซึ่งผู้ส่งออกเป็นผู้ยื่นประกอบใบขนสินค้าขาออกโดยจัดทำ 2 ฉบับ คือ 1.) ต้นฉบับ 2.) สำเนา แบบพิมพ์ ธ.ต. 1 นี้ขอรับได้จากกรมศุลกากร และไม่ต้องมีการรับรองจากธนาคารพาณิชย์
21. CERTIFICATE OF FUMIGATION (ใบรับรองการรมยา)
สำหรับสินค้าทุกชนิดที่เป็นผลิตภัณฑ์จากพืช เพื่อเป็นการทายศัตรูพืชทุกชนิดนอกจากนั้น เป็นการทำลายเชื้อราต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ระหว่างการขนส่งสินค้า ดังนั้นกรรมวิธีการรมควันจึงเป็นการป้องกันที่ต้นเหตุได้อย่างดี
22. CUSTOMS ENTRY FORM (ใบขนสินค้าที่ใช้ทางศุลกากรของแต่ละประเทศ)
ซึ่งจะมีใช้ทั้งการนำสินค้าเข้าและการส่งสินค้าออก โดยแต่ละประเทศจะกำหนดขึ้นใช้ตามความหมาะสม เพื่อเป็นหลักฐานในการตรวจสอบพิธีการ ชำระภาษีอากร และการตรวจปล่อยสินค้า จากการอารักขาของศุลกากร ปัจจุบันใบขนส่งสินค้าของกรมศุลกากรของไทยได้ใช้แบบอย่างตามเอกสารกระทัดรัดและสะดวกต่อการเก็บรักษาอีกด้วย
23. PHYTOSANITARY CERTIFICATE (ใบรับรองการปลอดโรคและศัตรูของพืชทุกชนิด)
เพื่อเป็นการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคพืชต่าง ๆ เอกสารชนิดนี้ออกโดยหน่วยงานของรัฐซึ่งได้รับการรับรองจากนานชาติ สำหรับกรรมวิธีการปฏิบัตินั้นอาจใช้บริการ ศึกษาได้จากหัวข้อ การส่งออก สินค้าเกษตร
24. CERTIFICATE OF ANALYSIS (ใบวิเคราะห์สินค้า)
เป็นเอกสารแสดงการตรวจสอบสินค้าทางวิทยาศาสตร์ ให้ทราบถึงส่วนผสมต่าง ๆ ที่มีอยู่ในสินค้าและให้การรับรองเป็นเอกสาร ถ้าเป็นอาหารที่บริโภคได้ก็จะวิเคราะห์ออกมาว่าไม่มีสิ่งเจือปนที่เป็นพิษตามหลักเกณฑ์สากล หรือมาตรฐานที่แต่ละประเทศกำหนด ถ้าเป็นเคมีภัณฑ์ก็แยกออกมาให้ทราบถึงส่วนผสมที่มีอยู่ เพื่อสะดวกแก่การนำสินค้าดังกล่าวเข้าประเทศ
25. CERTIFICATE OF VACINATION (ใบรับรองการฉีดวัคซีน)
ซึ่งใช้กับสิ่งมีชีวิตที่เป็นสินค้าทุกชนิด เพราะสิ่งมีชีวิตเหล่านั้นอาจเป็นพาหะนำโรคไปเผยแพร่ทุกประเทศจึงมีการเข้มงวดกวดขันป้องกัน การจะนำพาหรือส่งออกเป็นสินค้าจำเป็นต้องมีหนังสือรับรองการปลอดโรค ผู้ซื้อจึงจะสามารถนำเข้าประเทศได้
26. INSURANCE CERTIFICATE (ใบรับรองการประกันภัย)
การประกันภัยเป็นส่วนสำคัญของการค้าระหว่างประเทศ คือสินค้าได้รับการคุ้มครองความเสียหายจากภัยที่เกิดขึ้นจากการขนส่งสินค้าตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง หลักฐานเอกสารที่สำคัญก็คือ สัญญาประกันภัย ที่เรียกว่า กรมธรรม์ เป็นสัญญาที่ผู้รับประกันตกลงยินยอมประกันความเสียหายที่เกิดขึ้นจากภัยต่าง ๆ ตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ โดยผู้เอาประกันจะจ่ายค่าเบี้ยประกันให้ผู้รับประกันตามอัตราที่ตกลงกัน สำหรับสัญญาประกันภัย หรือกรมธรรม์ แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
กรมธรรม์ที่กำหนดมูลค่าของสินค้าในการขนส่งแต่ละเที่ยว ตามมูลค่าสินค้าที่ตกลงซื้อขาย และคิดเพิ่มอีก 10% นั่นเอง สำหรับหลักฐานทางเอกสารที่ออกให้ก็คือ กรมธรรม์ประกันภัย (INSURANCE POLICY)
กรมธรรม์เปิด OPEN POLICY OR OPEN COVER หรือจัดให้มีกรมธรรม์ลอยที่เรียกว่า FLOATING INSURANCE หมายถึงการซื้อขายสินค้ารายใหญ่ที่ต้องมีการส่งมอบกันหลายเที่ยว ย่อมไม่สะดวกในการแจ้งบริษัทประกันภัยทุกครั้งที่ส่งไปจึงนิยมใช้แบบกรมธรรม์เปิดหรือกรมธรรม์ลอย และยังเป็นการประหยัดค่าธรรมเนียมพร้อมอากรแสตมป์อีกด้วย ที่สำคัญก็คือ ได้รับความคุ้มครองโดยอัตโนมัติสำหรับสินค้าที่ส่งไปทุกเที่ยวจนกว่าจะหมดตามสัญญา ดังนั้น สินค้าที่ส่งไปแต่ละเที่ยวบริษัทผู้รับประกันจึงออก หนังสือรับรองประกันภัย INSURANCE CERTIFICATE แทนกรมธรรม์ให้เท่านั้น
ใบรับรองการประกันภัย (INSURANCE CERTIFICATE) เป็นเอกสารที่สำคัญในการนำเข้าตามกฎเกณฑ์ของบางประเทศที่ต้องแนบไปด้วย ในเงื่อนไขการซื้อขายของราคา ซี.ไอ.เอฟ. (CIF) เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา แคนาดา และบางประเทศในยุโรป เป็นต้น
27. PACKING LIST (ใบรายการบรรจุหีบห่อ)
เป็นเอกสารที่สำคัญอย่างหนึ่งซึ่งแสดงให้ทราบถึงการบรรจุสินค้าลงไปในบรรจุภัณฑ์ที่ใช้ในการขนส่งระหว่างประเทศ เพื่อสะดวกในการตรวจสอบสินค้าทั้งต้นทางและปลายทางสำหรับสินค้าปกติเจ้าหน้าที่ศุลกากรจะใช้วิธีการสุ่มตรวจตามอัตราส่วนที่เหมาะสม โดยจะไม่ทำการตรวจสินค้าทั้งหมดด้วยการเปิดหีบห่อ ซึ่งอาจทำให้บรรจุภัณฑ์และสินค้าเกิดการเสียหายหรือสูญหายได้ ดังนั้น ใบรายการบรรจุหีบห่อควรรายละเอียดให้เพียงพอ
28. SANITARY CERTIFICATE (ใบรับรองการตรวจสอบอาหารที่เป็นของสดหรือแช่แข็ง)
ใบรับรองประเภทนี้จะออกให้แก่ผู้ส่งออก เพื่อรับรองว่าผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับสัตว์ที่ส่งออกไปปลอดโรคและสิ่งปนเปื้อนที่จะเป็นอัตรายต่อผู้บริโภค ทั้งนี้ต้องเป็นไปตามข้อกำหนดตามมาตรฐานหรือข้อกำหนดที่ประเทศผู้ซื้อกำหนดด้วย สำหรับหน่วยงานที่มีอำนาจออกหนังสือรับรองประเภทนี้เป็นไปตามส่วนที่เกี่ยวข้อง เช่น สินค้าประเภทสัตว์น้ำจะออกใบรับรองโดย กรมประมง เป็นต้น
ข้อสรุปในการจัดทำเอกสาร-เพื่อการส่งออกควรจัดทำไว้เป็น 2 ชุด
ชุดที่ 1. ใช้ในการผ่านพิธีการศุลกากรภายในประเทศ สำหรับสินค้าส่งออก ตามระเบียบของกรมศุลกากรทุกประเภท
ชุดที่ 2. เป็นชุดที่ต้องจัดส่งไปให้ผู้รับสินค้าปลายทาง หรือผู้ซื้อนั่นเอง ควรทำและจัดหาให้ครบตามที่ผู้ซื้อต้องการ หรือ ถ้าเป็นการขายสินค้าโดยมี แอล.ซี. ต้องตรวจสอบให้ครบถ้วนตามที่ L/C ได้กำหนดไว้ ซึ่งต้องลงรายละเอียดและหาข้อมูลตามเงื่อนไขโดยถูกต้องด้วย


ที่มา http://ethaitrade.com, วันที่ 20 ต.ค. 2552
http://www.logisticscorner.com/index.php?option=com_content&view=article&id=1263:-export-document-&catid=39:import-export&Itemid=85

วันเสาร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2553

ส่งออกสินค้าเกษตรเพิ่ม



Bookmark and Share


หลังเปิดเสรีการค้าอาเซียน
วันที่ 1 ม.ค. 2553 ที่ผ่านมา ข้อตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน หรืออาฟต้า มีผลบังคับใช้อย่างสมบูรณ์แบบ กล่าวคือ กำแพงภาษีที่เคยเป็นอุปสรรคทางการค้า รวมไปถึงมาตรการที่มิใช่ภาษีของประเทศสมาชิกอาเซียนจะถูกยกเลิกทั้งหมดทำให้การค้าการขายภายในอาเซียนมีความเสรีมากยิ่งขึ้นตามข้อตกลงอาฟต้า ประเทศสมาชิกอาเซียนเดิม 6 ประเทศ คือ บรูไน อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย จะต้องลดภาษีสินค้าทั้งหมดเหลือ 0% แต่สมาชิกอาเซียนใหม่ 4 ประเทศ คือ กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม จะลดเหลือ 0% ในปี 2558

โดยในการลดภาษีดังกล่าว อาเซียน จะมีรายการสินค้าอ่อนไหวและสินค้าอ่อนไหวสูงที่จะไม่ลดภาษีเหลือ 0% เพียง 93 รายการ จากรายการสินค้าทั้งหมด 8,300 รายการที่มีการค้าขายในอาเซียน โดยไทย มีเพียง 4 รายการที่จะลดภาษีสุดท้ายเหลือ 5% คือ ไม้ตัดดอก มะพร้าวแห้ง มันฝรั่ง และกาแฟ ขณะที่สินค้าข้าว เป็นสินค้าอ่อนไหวสูงของอินโดนีเซีย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ และน้ำตาลทราย เป็นสินค้าอ่อนไหวสูงของอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์
นายอภิชาต จงสกุล เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กล่าวว่า หากมองในแง่ดี การเปิดเสรีอาฟต้า จะช่วยให้สินค้าอุตสาหกรรมของไทย คือ ยานยนต์และชิ้นส่วน คอมพิวเตอร์และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ จะได้ประโยชน์จากการใช้วัตถุดิบในอาเซียน การแบ่งงานกันผลิตชิ้นส่วนที่แต่ละประเทศสมาชิกมีความได้เปรียบ ส่งผลให้อุตสาหกรรมของไทยสามารถพัฒนาตัวเองเป็นศูนย์กลางการผลิตในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ ขณะที่สินค้าเกษตรไทยจะได้ประโยชน์ในการส่งออกโดยที่เห็นได้ชัดคือ ภายหลังการเปิดเสรีการค้าอาเซียน สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรได้ทำการประเมินสถิติการนำเข้าและส่งออกสินค้าเกษตร ภายหลังการเปิดเสรีการค้าอาเซียน เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2553 ถึงเดือนพฤษภาคม 2553 พบว่ามูลค่าการค้าสินค้าเกษตรระหว่างไทยกับอาเซียนคิดเป็นจำนวน 99,394 ล้านบาท ซึ่งสูงกว่ามูลค่าการค้าในช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้วถึง 54.90% แบ่งเป็น มูลค่าการส่งออก 81,729 ล้านบาท มูลค่าการนำเข้า 17,665 ล้านบาท โดยไทยเป็นฝ่ายได้เปรียบดุลการค้าประมาณ 64,064 ล้านบาท ซึ่งกลุ่มสินค้าที่ไทยขยายการส่งออกมากขึ้น เช่น ข้าวและธัญพืช มีมูลค่าการส่งออกจำนวน 15,146 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 104% ผลิตภัณฑ์แป้งจากธัญพืช มีมูลค่าการส่งออกจำนวน 5,535 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 257% กลุ่มน้ำตาลและขนมที่ทำจากน้ำตาล มีมูลค่าการส่งออกจำนวน 26,775 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 185% สำหรับกลุ่มสินค้าที่มีการขยายการนำเข้ามากขึ้น เช่น กลุ่มสินค้านม ไขมัน น้ำมันจากพืชและสัตว์ เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าสถานการณ์การส่งออกสินค้าเกษตรในภาพรวมประเทศไทยจะได้เปรียบดุลการค้า แต่กระทรวงเกษตรฯ ยังเตรียมความพร้อมในการใช้มาตรการปกป้องพิเศษของความตกลงว่าด้วยการ เกษตร หรือ SSG ภายใต้การเปิดเสรี การค้าอาเซียน โดยในส่วนของการเตรียมความพร้อมการใช้มาตรการปกป้องพิเศษ นั้น เตรียมประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ติดตาม เฝ้าระวังและเตรียมตัวเลขที่ได้คำนวณหาค่าเกณฑ์ปริมาณและราคา นำเข้าไว้แล้ว และกรมการค้าต่างประเทศเพื่อพิจารณาเร่งรัดการพิจารณาออกประกาศหรือกฎหมายลูกเกี่ยวกับมาตรการปกป้องพิเศษต่อไป เพื่อเป็นการปกป้องผลผลิตสินค้าเกษตรภายในประเทศที่จะได้รับผลกระทบจากสินค้าจากประเทศอื่นที่ทะลักเข้ามาจนผิดปกติ และกระทรวงเกษตรฯ โดยสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรยังได้ร่วมกับกรมศุลกากร กระทรวงการคลัง จัดทำร่างบันทึกข้อตกลง (เอ็มโอยู) ว่าด้วยการใช้ประโยชน์จากข้อมูลการนำสินค้าเข้า และการส่งสินค้าออก เพื่อเป็นประโยชน์ในการประมวลผลการออกรายงานสถิติในภาพรวมการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศอีกทางหนึ่งด้วย

ทั้งนี้ คาดว่าจะมีการลงนามความร่วมมือข้อตกลงฉบับดังกล่าวของทั้งสอง กระทรวงในเร็ว ๆ นี้.
http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=346&contentID=88656

Unlimited Backlinks
Free Auto Backlinks
Free Automatic Backlink

วันศุกร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2553

ชูไทยเป็นฮับ แฟชั่น'มุสลิม อุตฯหนุนสุดตัว


Bookmark and Share



นายอาทิตย์ วุฒิคะโร อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) กล่าวภายหลังแถลงโครงการ "พัฒนาเครื่องแต่งกายมุสลิมเพื่อการส่งออก" ประจำปี 2553 ว่าขณะนี้กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมกำลังส่งเสริมสินค้าแฟชั่นเสื้อผ้ามุสลิมให้เป็นที่นิยมในตลาดโลกมากขึ้น โดยได้ให้ดีไซเนอร์ออกแบบชุดต้นแบบแฟชั่นเครื่องแต่งกายมุสลิม 50 ชุด ส่งให้ทูตพาณิชย์ไทยในกลุ่มประเทศมุสลิมทั้งตะวันออกกลาง อินเดีย และอาเซียน นำไปเผยแพร่เครื่องแต่งกาย ให้ผู้ค้าเสื้อผ้าแต่ละประเทศที่สนใจสั่งซื้อผู้ประกอบการจากประเทศไทยเพื่อผลักดันให้เป็นศูนย์กลางแฟชั่นมุสลิมชั้นนำระดับโลก รวมทั้งจะร่วมเดินทางไปจัดแสดงสินค้าประเทศต่างๆ เนื่องจากเห็นว่าตลาดเสื้อผ้ามุสลิมของไทยมีศักยภาพที่จะขยายตัวได้อีกมากและยังไม่มีเสื้อผ้ายี่ห้อระดับโลกที่เจาะตลาดกลุ่มนี้อย่างจริงจัง จึงเห็นเป็นโอกาสของผู้ประกอบการไทย
ปัจจุบันมีนักท่องเที่ยวชาวมุสลิมจากประเทศแถบตะวันออกกลางและประเทศเพื่อนบ้าน เช่น มาเลเซียและบรูไนที่เดินทางเข้ามาเที่ยวในประเทศไทยสนใจซื้อเสื้อผ้ามุสลิมจากไทยเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะในตลาดโบ๊เบ๊ ประตูน้ำ สำเพ็ง และหาดใหญ่ จึงมีแนวคิดที่จะผลักดันให้ตลาดเหล่านี้เป็นศูนย์กระจายสินค้าเสื้อผ้ามุสลิมของผู้ประกอบการเอสเอ็มอี
"มูลค่าตลาดเสื้อผ้ามุสลิมสำเร็จรูปในไทยปัจจุบันยังไม่มีการรวบรวมที่แน่ชัด แต่มูลค่าคร่าวๆ น่าจะอยู่ระดับหมื่นล้านบาท แต่ในกลุ่มที่เป็นสินค้าแฟชั่นยังมีมูลค่าไม่เยอะอยู่ที่ประมาณ 100 ล้านบาท " นายอาทิตย์กล่าว.
Free Auto Backlink
Free Auto Backlink
Cárdenas.net

เงินบาทแข็งทะลุ 30 จีดีพี หด


Bookmark and Share




จ๊าก! บาทแข็งทะลุ30 เอกชนฉุนธปท.ไม่"อุ้ม" ขู่ลอยแพปลดพนักงาน คาด"ส่งออก-จีดีพี"หด

บาทแข็งทะลุมาถึงระดับ 30 แล้ว ล่าสุดหลุด 31 แตะระดับ 30.86 บาทต่อดอลลาร์ ภาคเอกเชนโวยแหลกแบงก์ชาติไม่ทำอะไร ซ้ำยังเป็นต้นเหตุทำให้เงินไหลเข้า ด้วยการประกาศจะปรับขึ้นดอกเบี้ย อีก หอการค้า ขู่หากบาทแข็งต่อไปอีก บางธุรกิจอาจจะต้องปิดกิจการ-ปลดพนักงาน
สถานการณ์ค่าเงินบาทในตลาดการเงินล่าสุดเมื่อวันที่ 9 กันยายน หลุดจากระดับ 31 บาทต่อดอลลาร์ลงไปเรียบร้อยแล้ว โดยนักค้าเงินจากธนาคารซีไอเอ็มบีไทยรายงานว่า การซื้อขายเปิดตลาดที่ 30.86-30.88 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ และปิดตลาดที่ 30.89-91 บาท ต่อดอลลาร์ จากปัจจัยหลักเดิมคือ การไหลเข้าของเงินต่างชาติ ซึ่งยังคงทำให้เงินบาทมีทิศทางที่แข็งค่าขึ้นได้อีก เนื่องจากแบงก์ชาติยังไม่แสดงท่าทีใดๆกับเรื่องนี้
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า การที่เงินบาทแข็งค่าหลุดระดับ 31 บาท/ ดอลลาร์ ไม่ได้อยู่เหนือความคาดหมาย ซึ่งได้ให้แนวทางกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)ไปแล้วว่า สามารถพิจารณาใช้มาตรการดูแลเงินทุนไหลเข้า-ออกได้ หากมีความจำเป็น อย่างไรก็ตาม ขณะนี้แนวโน้มเงินบาทยังแข็งค่าอยู่บ้าง แต่ไม่สามารถบอกได้ว่า จะแข็งถึงระดับ 29 บาทหรือไม่
ด้านนายสถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ ปลัดกระทรวงการคลัง กล่าวว่าการปรับตัวของค่าเงินบาทช่วงนี้ คงเป็นไปตามกลไกตลาดในภูมิภาคเอเชีย ที่มีเม็ดเงินลงทุนต่างชาติไหลเข้ามาอย่างต่อเนื่อง โดยค่าเงินบาทของไทยไม่แตกต่างไปจากค่าเงินในภูมิภาคเดียวกัน จึงไม่ใช่เรื่องน่าตกใจนัก ทั้งนี้เชื่อว่า ทางธปท. น่าจะมีมาตรการที่มีประสิทธิภาพออกมาควบคุมได้ หากค่าบาทปรับตัวผันผวนรุนแรง
นายสมพันธ์ เอี่ยมรุ่งโรจน์ รักษาการกรรมการผู้จัดการเอ็กซิมแบงก์ กล่าวว่า ครึ่งปีแรกที่ผ่านมา ลูกค้าของธนาคารฯยังไม่ได้รับผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยน แต่ขณะนี้เริ่มมีการขาดทุนแล้ว และหากแนวโน้มค่าเงินบาทแข็งค่าไปเรื่อยๆภายใน 1 ถึง 2 ปี ลูกค้าที่เป็นผู้ส่งออกต้องล้มหายตายจากไปโดยเฉพาะบริษัทที่มีทุนน้อย
ด้านนายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า ธปท.ควรออกมาส่งสัญญาณดูแลค่าเงินบาทให้ชัดเจนขึ้น เพราะที่ผ่านมามีการระบุเพียงว่า เงินบาทที่แข็งค่าขึ้นไม่กระทบกับการส่งออก รวมทั้งยังมีการส่งสัญญาณว่าจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีก 2 ครั้ง ทั้งนี้ ธปท. ควรชะลอการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย เพื่อลดความร้อนแรงของเงินบาท รวมทั้งนำมาตรการดูแลการเก็งกำไรค่าเงินบาท โดยใช้มาตรการเก็บภาษี จากส่วนต่างกำไรค่าเงิน 5-10 % สำหรับเงินที่เข้ามาลงทุนในไทยน้อยกว่า 3-6 เดือน
"การประกาศขึ้นดอกเบี้ย ยิ่งทำให้เงินลงทุนยิ่งไหลเข้า และหนุนให้เงินบาทแข็งค่าขึ้น อีก เห็นได้จากมีเม็ดเงินเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้น และตลาดตราสารหนี้ มากกว่า 50,000 ล้านบาท หากค่าเงินบาทแข็งค่ารวดเร็ว หลุดกรอบ 30 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ในช่วงไตรมาสที่ 4 จะทำให้สูญเสียรายได้จากการส่งออกและการท่องเที่ยวอย่างน้อย 100,000 ล้านบาท และทำให้ จีดีพี ในไตรมาส 4 หดตัว 1% ส่งผลให้ จีดีพี ทั้งปี 2553 ขยายตัวไม่ถึง 7 % และกระทบต่อเนื่องไปถึงปี 2554 เพราะค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นทุก 1 บาท จะทำให้ส่งออกหดตัว 3 % มูลค่าการส่งออกหายไป 200,000-300,000 ล้านบาท " นายธนวรรธน์ กล่าว



backlinks free

วันพุธที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2553

กลยุทธ์การส่งเสริมการส่งออก


Bookmark and Share



กลยุทธ์การส่งเสริมการส่งออก

การส่งออกสินค้าอาหาร ปี 2552 ไตรมาสแรก (ม.ค.-มี.ค.) ยังคงอยู่ในภาวะที่ต้องเฝ้าระวังและติดตามความเคลื่อนไหวของเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง เพราะกลุ่มลูกค้าเริ่มชะลอการสั่งซื้อ ส่งผลให้การขับเคลื่อนของธุรกิจเริ่มชะลอตัวตาม ด้วยเหตุนี้ทั้งภาครัฐและเอกชนจึงต้องร่วมมือกันในการกระตุ้นการขับเคลื่อน โดยเฉพาะการสร้างยุทธศาสตร์เชิงรุกและการสร้างภาพลักษณ์สินค้าไทย อาทิ
- ส่งเสริมความหลากหลายของสินค้าและขยายตลาดให้เพิ่มขึ้น (Product and Market Diversification)
- สนับสนุนการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการจัดหาวัตถุดิบ เพื่อทดแทนการนำเข้าและลดต้นทุนการผลิต
- การสร้างมาตรฐานผลิตภัณฑ์ เช่น การพัฒนาระบบการตรวจสอบสารปนเปื้อน และสารตกค้าง
- การทำความตกลงกับรัฐบาลในประเทศเพื่อนบ้านให้จัดส่งแรงงานมาทำงานในไทย โดยภาครัฐต้องกำหนดแนวทางจัดระเบียบแรงงานต่างด้าวให้ชัดเจน เพื่อให้สามารถควบคุมการหลบหนี และย้ายเปลี่ยนงานบ่อย
- สนับสนุนให้ไทยเป็นฐานการแปรรูปสินค้ากุ้งสำเร็จรูป เพราะไทยได้เปรียบคู่แข่งเรื่องเทคโนโลยี เงินทุน การตลาด และอุตสาหกรรมสนับสนุน
- ส่งเสริมให้มีการสร้างมูลค่าเพิ่ม (Value Added) และเพิ่มความหลากหลายของสินค้า (Product Diversification)
- ส่งเสริมให้มีการเชื่อมโยงเครือข่ายการส่งออกและกระจายผลิตภัณฑ์อาหารไทยสู่ร้านอาหารไทยในต่างประเทศ
Free Poker
ส่งออก
export

ภาวะการส่งออกสินค้าอาหาร


Bookmark and Share




ภาวะการส่งออกสินค้าอาหาร
แม้ว่าจะมีการระบาดของไข้หวัดสายพันธุ์ 2009 เอช 1 เอ็น 1 แต่หลายฝ่ายทั้งภาครัฐและเอกชนคาดการณ์ว่าจะไม่ส่งผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าอาหารของไทย และคาดว่าทั้งปีนี้ยอดการส่งออกอาหารจะมีมูลค่า ไม่ต่ำกว่าปีก่อนที่ 20,000 ล้านเหรียญหรือ 7 แสนล้านบาท แม้การส่งออกช่วง 3 เดือนแรก (ม.ค.-มี.ค.) ของปี 2552 จะขยายตัวติดลบ 5% แต่ก็ยังคงน้อยกว่าภาพรวมการส่งออกที่ลบถึง 20% ประกอบกับขณะนี้มีสินค้าอาหารส่งออกบางกลุ่มที่มีการปรับตัวไปในทิศทางบวก เช่น กุ้ง เพิ่มขึ้น 1.1% จากเป้าหมายที่คาดว่าจะติดลบ 5% ไก่สดแช่แข็งและแปรรูป เป็นต้น
ปัจจุบันผู้บริโภคทั่วโลกตื่นตระหนกและลดการบริโภคเนื้อสุกรแล้วหันมาซื้อโปรตีนชนิดอื่นแทน ซึ่งน่าจะส่งผลดีต่อการส่งออกสินค้าอาหารไทย และมีแนวโน้มจะทำให้เป้าหมายที่คาดการณ์ว่าจะติดลบ ในปีนี้ ปรับดีขึ้น โดยขณะนี้ ผู้ผลิตไก่แปรรูป-ปรุงสุกต่างเพิ่มกำลังการผลิตเต็มที่ เพื่อรองรับความต้องการซื้อที่เพิ่มขึ้นจากตลาดหลักคือ ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป อาจส่งผลให้ไก่ภายในประเทศไม่เพียงพอและมีโอกาสที่ราคาจะปรับสูงขึ้นได้ อย่างไรก็ตามจากปัจจัยต้นทุนวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่ปรับลดลงต่ำกว่าปีที่ผ่านมา ส่งผลต่อปริมาณผลผลิตที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะผลผลิตที่เกิดจากการเพาะเลี้ยง เช่น ไก่ กุ้ง ในขณะที่สินค้าอาหารที่ได้จากแหล่งวัตถุดิบธรรมชาติ เช่น สัตว์น้ำจากทะเล มีแนวโน้มที่จะปรับลดลง เนื่องจากปัญหาภัยธรรมชาติและภาวะ โลกร้อน ซึ่งส่งผลให้ต้นทุนการผลิตปรับสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
กรมส่งเสริมการส่งออก ได้ร่วมมือกับผู้ประกอบการห้างสรรพสินค้า และห้างค้าปลีก 3 แห่ง ได้แก่ กลุ่มอิออน ผู้บริหารห้างสรรพสินค้าจัสโก้ของญี่ปุ่น ห้างค้าปลีกเทสโก้ โลตัส ของประเทศอังกฤษ และห้างค้าปลีกคาร์ฟูร์ในจีน จัดกิจกรรมส่งเสริมการขายสินค้าไทย โดยเน้นผัก ผลไม้ และสินค้าอาหารต่างๆ ในสาขาต่างๆของทั้ง 3 ห้าง ใน 3 ประเทศ ซึ่งจะเพิ่มช่องทางการส่งออกสินค้าไทยได้มากขึ้น และทำให้มูลค่าการส่งออกไทยในปีนี้เพิ่มขึ้นอีกหลายหมื่นล้านบาท โดยในส่วนของกลุ่มอิออนนั้น ในปี 2551 นำเข้าจากไทยทั้งผัก ผลไม้ อาหารพร้อมรับประทาน เป็นต้น ประมาณ 17,000 ล้านบาท ในปีนี้คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 21,000 ล้านบาท ส่วนห้างเทสโก้ โลตัสในอังกฤษ จะนำเข้าสินค้าจากไทยเพิ่มขึ้น 2 เท่าจากปีก่อนที่นำเข้ามูลค่า
ประมาณ 84 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยเฉพาะผลไม้ตามฤดูกาลชนิดต่างๆ ทั้งลำไย ลิ้นจี่ ทุเรียน เงาะ มังคุด รวมถึงสินค้าอาหารชนิด เพื่อจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายหมุนเวียนไปตลอดทั้งปี ภายใต้ชื่อโครงการ “Health&Tasty from Thailand ”ซึ่งจะจัดขึ้นในเดือนมิ.ย.2552 ในห้างเทสโก้ โลตัส 70 สาขาทั่วประเทศทั่วประเทศอังกฤษ ขณะที่ห้างคาร์ฟูร์ในจีน จะซื้อสินค้าจากไทยโดยตรงมากขึ้น

ปี 2552 (ม.ค.-มี.ค.) ประเทศไทยส่งออกสินค้าอาหาร(รวมข้าวและน้ำตาล)ในไตรมาสแรก มูลค่า 4,222.67 ล้านเหรียญสหรัฐฯ อัตราขยายตัวลดลงร้อยละ 4.9
ตลาดหลักในการส่งออกสินค้าอาหาร 5 อันดับแรกของ ปี 2552 (ม.ค.-มี.ค.) ได้แก่ ญี่ปุ่น สหรัฐฯ สหราชอาณาจักร ฮ่องกง และ แอฟริกาใต้ โดยญี่ปุ่น ฮ่องกง และ แอฟริกาใต้เป็นตลาดที่มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น






Counter-code installation

น่ารักดอทคอม
ส่งออกสินค้า
Free Auto Backlink

Free Auto Backlinks
Free Auto Backlink Generator