thai export professional

วันเสาร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2553

ส่งออกสินค้าเกษตรเพิ่ม



Bookmark and Share


หลังเปิดเสรีการค้าอาเซียน
วันที่ 1 ม.ค. 2553 ที่ผ่านมา ข้อตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน หรืออาฟต้า มีผลบังคับใช้อย่างสมบูรณ์แบบ กล่าวคือ กำแพงภาษีที่เคยเป็นอุปสรรคทางการค้า รวมไปถึงมาตรการที่มิใช่ภาษีของประเทศสมาชิกอาเซียนจะถูกยกเลิกทั้งหมดทำให้การค้าการขายภายในอาเซียนมีความเสรีมากยิ่งขึ้นตามข้อตกลงอาฟต้า ประเทศสมาชิกอาเซียนเดิม 6 ประเทศ คือ บรูไน อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย จะต้องลดภาษีสินค้าทั้งหมดเหลือ 0% แต่สมาชิกอาเซียนใหม่ 4 ประเทศ คือ กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม จะลดเหลือ 0% ในปี 2558

โดยในการลดภาษีดังกล่าว อาเซียน จะมีรายการสินค้าอ่อนไหวและสินค้าอ่อนไหวสูงที่จะไม่ลดภาษีเหลือ 0% เพียง 93 รายการ จากรายการสินค้าทั้งหมด 8,300 รายการที่มีการค้าขายในอาเซียน โดยไทย มีเพียง 4 รายการที่จะลดภาษีสุดท้ายเหลือ 5% คือ ไม้ตัดดอก มะพร้าวแห้ง มันฝรั่ง และกาแฟ ขณะที่สินค้าข้าว เป็นสินค้าอ่อนไหวสูงของอินโดนีเซีย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ และน้ำตาลทราย เป็นสินค้าอ่อนไหวสูงของอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์
นายอภิชาต จงสกุล เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กล่าวว่า หากมองในแง่ดี การเปิดเสรีอาฟต้า จะช่วยให้สินค้าอุตสาหกรรมของไทย คือ ยานยนต์และชิ้นส่วน คอมพิวเตอร์และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ จะได้ประโยชน์จากการใช้วัตถุดิบในอาเซียน การแบ่งงานกันผลิตชิ้นส่วนที่แต่ละประเทศสมาชิกมีความได้เปรียบ ส่งผลให้อุตสาหกรรมของไทยสามารถพัฒนาตัวเองเป็นศูนย์กลางการผลิตในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ ขณะที่สินค้าเกษตรไทยจะได้ประโยชน์ในการส่งออกโดยที่เห็นได้ชัดคือ ภายหลังการเปิดเสรีการค้าอาเซียน สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรได้ทำการประเมินสถิติการนำเข้าและส่งออกสินค้าเกษตร ภายหลังการเปิดเสรีการค้าอาเซียน เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2553 ถึงเดือนพฤษภาคม 2553 พบว่ามูลค่าการค้าสินค้าเกษตรระหว่างไทยกับอาเซียนคิดเป็นจำนวน 99,394 ล้านบาท ซึ่งสูงกว่ามูลค่าการค้าในช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้วถึง 54.90% แบ่งเป็น มูลค่าการส่งออก 81,729 ล้านบาท มูลค่าการนำเข้า 17,665 ล้านบาท โดยไทยเป็นฝ่ายได้เปรียบดุลการค้าประมาณ 64,064 ล้านบาท ซึ่งกลุ่มสินค้าที่ไทยขยายการส่งออกมากขึ้น เช่น ข้าวและธัญพืช มีมูลค่าการส่งออกจำนวน 15,146 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 104% ผลิตภัณฑ์แป้งจากธัญพืช มีมูลค่าการส่งออกจำนวน 5,535 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 257% กลุ่มน้ำตาลและขนมที่ทำจากน้ำตาล มีมูลค่าการส่งออกจำนวน 26,775 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 185% สำหรับกลุ่มสินค้าที่มีการขยายการนำเข้ามากขึ้น เช่น กลุ่มสินค้านม ไขมัน น้ำมันจากพืชและสัตว์ เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าสถานการณ์การส่งออกสินค้าเกษตรในภาพรวมประเทศไทยจะได้เปรียบดุลการค้า แต่กระทรวงเกษตรฯ ยังเตรียมความพร้อมในการใช้มาตรการปกป้องพิเศษของความตกลงว่าด้วยการ เกษตร หรือ SSG ภายใต้การเปิดเสรี การค้าอาเซียน โดยในส่วนของการเตรียมความพร้อมการใช้มาตรการปกป้องพิเศษ นั้น เตรียมประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ติดตาม เฝ้าระวังและเตรียมตัวเลขที่ได้คำนวณหาค่าเกณฑ์ปริมาณและราคา นำเข้าไว้แล้ว และกรมการค้าต่างประเทศเพื่อพิจารณาเร่งรัดการพิจารณาออกประกาศหรือกฎหมายลูกเกี่ยวกับมาตรการปกป้องพิเศษต่อไป เพื่อเป็นการปกป้องผลผลิตสินค้าเกษตรภายในประเทศที่จะได้รับผลกระทบจากสินค้าจากประเทศอื่นที่ทะลักเข้ามาจนผิดปกติ และกระทรวงเกษตรฯ โดยสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรยังได้ร่วมกับกรมศุลกากร กระทรวงการคลัง จัดทำร่างบันทึกข้อตกลง (เอ็มโอยู) ว่าด้วยการใช้ประโยชน์จากข้อมูลการนำสินค้าเข้า และการส่งสินค้าออก เพื่อเป็นประโยชน์ในการประมวลผลการออกรายงานสถิติในภาพรวมการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศอีกทางหนึ่งด้วย

ทั้งนี้ คาดว่าจะมีการลงนามความร่วมมือข้อตกลงฉบับดังกล่าวของทั้งสอง กระทรวงในเร็ว ๆ นี้.
http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=346&contentID=88656

Unlimited Backlinks
Free Auto Backlinks
Free Automatic Backlink

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น